รัฐบาลไทย ( คณะรัฐมนตรี )
คณะรัฐมนตรีเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านกฎหมาย ทางการเมือง และในทางอำนาจที่กำหนดไว้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 36 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คน
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี หรือที่นิยมเรียกกันว่ารัฐบาล เป็นคณะบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐสภาให้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อความผาสุก ความปลอดภัย และความสงบของประชาชนทั้งประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสรุปความสำคัญของคณะรัฐมนตรีได้ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมาย กล่าวคือเป็นคณะบุคคลที่ทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังจากที่รัฐสภาได้ตรากฎหมายออกมาแล้ว เช่น รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง คณะรัฐมนตรีก็จะต้องจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางขึ้นมา ซึ่งจะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ รัฐสภาออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร คณะรัฐมนตรีก็มีหน้าที่จัดเก็บภาษีตามที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ เป็นต้น
2. คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายมากมาย สามารถกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินได้ตามแนวคิดของคณะรัฐมนตรีคณะนั้นๆ มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศ
3. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจทางการเมืองทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองภายในประเทศด้วยในการบริหารราชการแผ่นดิน และใช้อำนาจทางการเมืองภายนอกประเทศในการติดต่อกับต่างประเทศแทนรัฐหรือชาติไทย
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รวมทั้งตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และระเบียบต่างๆ ตลอดจนตามประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมีอยู่มากมายด้วยกัน สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่แถลงขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
2. ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
3. ประสานงานกับกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันได้ร่วมมือกันปฏิบัติงาน
4. กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่จะกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องต่างๆ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
5. พิจารณาและมีมติในเรื่องต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เสนอมาให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย เรื่องใหม่ซึ่งควรจะให้คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายหรือเรื่องซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำ ที่กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับได้กำหนดให้ต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้น ปัจจุบันนี้ใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
แบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังนี้
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบและบัญชาข้าราชการประจำรองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตี และรัฐมนตีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตีและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมาย และพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตี หรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มีได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบและบัญชาข้าราชการประจำรองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตี และรัฐมนตีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตีและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมาย และพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตี หรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มีได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
1.2 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นผู้ช่วย มีปลัดกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบและบังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
ในแต่ละกระทรวงจะมีอำนาจหน้าที่ตางกันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงทั้งสิ้น 20 กระทรวง ดังนี้
(1) สำนักนายกรัฐมนตรี
(2) กระทรวงกลาโหม
(3) กระทรวงการคลัง
(4) กระทรวงการต่างประเทศ
(5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(6) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(6) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(7) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(8) กระทรวงคมนาคม
(9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(11) กระทรวงพลังงาน
(12) กระทรวงพาณิชย์
(13) กระทรวงมหาดไทย
(14) กระทรวงยุติธรรม
(15) กระทรวงแรงงาน
(16) กระทรวงวัฒนธรรม
(17) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(18) กระทรวงศึกษาธิการ
(19) กระทรวงสาธารณสุข
(20) กระทรวงอุตสาหกรรม
1.3 กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม เป็นส่วนราชการที่แบ่งรองลงมาจากกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติข้าราชการของกระทรวง ในกรมหนึ่งอาจมีรองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดี
1.4 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง แต่ขึ้นตรงต่อนกยกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักอัยการสูงสุด อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
1.4 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวง แต่ขึ้นตรงต่อนกยกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักอัยการสูงสุด อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในท้องที่ต่างๆ จากส่วนกลางเพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และของกระทรวง และกรมต่างๆ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
2.1 จังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ มาฐานะเป็นนิติบุคคล โดยรวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด และมีส่วนราชการของกระทรวง หรือกรมต่างๆ ไปตั้งอยู่ ณ จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่
2.2 อำเภอ เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด อำเภอหนึ่งประกอบด้วยหลายตำบล มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการภายในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนี้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ
หน่วยงานรองลงไปจากอำเภอ คือ ตำบล ในแต่ละตำบลมีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง หน่วยงานย่อยรองตำบลลงไป คือ หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจปกครองไปให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองท้องถิ่น โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ดำเนินกิจการด้านการพัฒนา การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการแบ่งสรรเงินให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในจังหวัดนั้น มีจำนวนมากน้อยตามเกณฑ์ของราษฎรในจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และรองนายก 2-4 คน ตามเกณฑ์ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
3.2 เทศบาล การจัดตั้งเทศบาลให้ดูสภาพท้องถิ่นอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งอาจตั้งเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และคณะเทศมนตรี
สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
คณะเทศมนตรี ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และเทศมนตรีตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด คณะเทศมนตรีทำหน้าที่บริหารงานของเทศบาลภายใต้การควบคุมของสภาเทศบาล และมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และงานประจำของเทศบาล
3.3 สภาตำบล เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีฐานะเป็นนิติบุคคล สมาชิกสภาตำบลประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบล หมู่บ้านละหนึ่งคน
3.4 องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยการปกครองที่พัฒนามาจากสภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้ตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยพ้นสภาพจากสภาตำบลนั้น และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
องค์การบริการส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในตำบลหมู่บ้านละ 2 คน หากตำบลใดมี 1 หมู่บ้าน ให้เลือกสมาชิกได้ 6 คน ถ้าตำบลใดมี 2 หมู่บ้านให้เลือกสมาชิกได้หมู่บ้านละ 3 คน และให้สภาตำบลเลือกสมาชิกเป็นประธานสภา 1 คน เป็นรองประธานสภา 1 คน เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหาร 2 คน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
3.5 กรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2542) มีฐานะเป็นนิติบุคคล การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยการแบ่งเขตๆ ละ 1 คน ซึ่งใช้ราษฎรประมาณ 100,000 คน เป็นเกณฑ์ สภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 คน แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการประจำ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
3.6 เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย สภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยสมาชิกเลือกประธานสภาเมืองพัทยา แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีแต่งตั้ง
นายกเมืองพัทยา ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน มีอำนาจหน้าที่บริหารภายในองค์กรซึ่งประกอบด้วยสำนักปลัดเมืองพัทยา และส่วนราชการอื่น
การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องอยู่ใกล้ตัวนักเรียน จึงควรทำความเข้าใจ และต่อไปเมื่อนักเรียนพ้นเกณฑ์การศึกษาแล้ว อาจเข้าไปมีส่วนรวมหรือมีบทบาทในองค์การเหล่านี้
If you're looking to lose weight then you certainly have to try this brand new personalized keto plan.
ตอบลบTo design this keto diet service, licenced nutritionists, personal trainers, and cooks have united to develop keto meal plans that are effective, suitable, cost-efficient, and satisfying.
From their launch in early 2019, 100's of individuals have already remodeled their body and well-being with the benefits a good keto plan can give.
Speaking of benefits: clicking this link, you'll discover 8 scientifically-proven ones offered by the keto plan.